“สุวัจน์” เป็นประธานถวายหุ่นขี้ผึ้งเสมือน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ปางปัญญาบารมี องค์เดียวในโลก ณ วัดอินทรวิหารเปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวัน

แบ่งปันข่าวนี้ :

“สุวัจน์” เป็นประธานถวายหุ่นขี้ผึ้งเสมือน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ปางปัญญาบารมี องค์เดียวในโลก ณ วัดอินทรวิหารเปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวัน

เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2567 พระโสภณธรรมวงศ์ (เจ้าคุณน้อย) เจ้าคณะแขวงสามพระยา เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหารฯ กรุงเทพ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ในพิธีสมโภชบวงสรวงรูปเหมือนเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ปางปัญญาบารมี ณ มณฑลพิธีศักดิ์สิทธิ หน้าหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง (บางขุนพรหม) กทม.

โดยมีนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานพรรคชาติพัฒนากล้า อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาสและเจ้าภาพ “ปอ” นายตนุภัทร เลิศทวีวิทย์ ผู้บริหารเครือ TNP Group บริษัทนำเข้ารถรายใหญ่ของไทย
โดยมีร่วมกับแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมพิธีจำนวนมาก

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ปางปัญญาบารมี องค์นี้
เป็นหุ่นขี้ผึ้ง ขนาดสูง 178 ซม.
ดำเนินการจัดสร้างโดย “สันติ พิเชฐชัยกุล” ประติมากรเอกระดับโลก สำหรับหลวงปู่โตองค์นี้เป็นไฟเบอร์กลาส ไม่ได้เป็นหุ่นขี้ผึ้งเบอร์กลาส ทนความร้อนได้ ลายละเอียดเส้นจะเก็บได้คมชัดกว่า ซึ่งอาจารย์สันติ พิเชฐชัยกุล ท่านนี้คือคน้ดียวกับที่ปั่นรูปหล่อเหมือนในหลวงร.9

โดยสมเด็จฯโต องค์นี้ ตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ปางปัญญาบารมี ณ ศาลาสังฆานุสรณ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ซึ่งภายในจัดให้มีบรรยากาศแบบย้อนยุค สมัยรัชกาลที่ 4 กับชมชีวะประวัติ สมเด็จฯโต “อิ่มบุญ อิ่มใจ“ เปิดให้ประชาชน นักท่องเที่ยว เข้าชมได้ทุกวัน ณ วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง

ทั้งนี้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) มีความผูกพันกับวัดอินทรวิหารฯ มาตั้งแต่เยาว์วัย กล่าวคือ ตั้งแต่เริ่มหัดเดินจนได้บวชเรียนเป็นสมเณรหลวง จากนั้นท่านได้มาสร้าง หลวงพ่อโต (พระพุทธศรีอริยเมตไตรย) เป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร ขนาดใหญ่ สูง 32 เมตร เมื่อพ.ศ.2410 สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ท่านได้มรณภาพลงขณะที่สร้างไปได้ถึงบริเวณพระนาภี (สะดือ) การก่อสร้างจึงหยุดชะงักลง และได้มีการก่อสร้างต่อจนสำเร็จในปี พ.ศ. 2467 สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้จัดให้มีงานสมโภชเป็นครั้งแรกเป็นเวลาสามวัน คือวันที่ 4-6 มีนาคม พ.ศ. 2471

/////////

อ่านแล้ว556 times!

แบ่งปันข่าวนี้ :

You May Also Like

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.