ประชุมรับฟังความคิดเห็นพิจารณาหลักเกณฑ์กลางในการผ่อนผันให้ใช้เครื่องมืออวนรุนทำการประมง จ.สุราษฎร์ธานี

แบ่งปันข่าวนี้ :

ประชุมรับฟังความคิดเห็นพิจารณาหลักเกณฑ์กลางในการผ่อนผันให้ใช้เครื่องมืออวนรุนทำการประมง จ.สุราษฎร์ธานี

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 12 พ.ย.67 ที่ที่ทำการกำนันตำบลคลองฉนาก หมู่ที่ 4 ต.คลองฉนาก อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี น.อ.ณัฐพล สินพูลผล รอง ผอ.ศรชล.จว.สุราษฎร์ธานี พร้อมประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมประชุมรับฟังความคิดเห็นพิจารณาหลักเกณฑ์กลางในการผ่อนผันให้ใช้เครื่องมืออวนรุนทำการประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีผู้ประกอบการเรือประมงและชาวประมงพื้นบ้านเข้าร่วมจำนวน 138 ราย

น.อ.ณัฐพล กล่าวว่า ทั้งนี้ที่ผ่านมาการทำประมงอวนรุนถูกประกาศเป็นการประมงผิดกฎหมาย ตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา 67 (4) แต่กลุ่มชาวประมงที่ได้รับความเดือนร้อนได้เข้ายื่นหนังสือขอให้มีการผ่อนผันจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขอให้มีการผ่อนผันให้กับชาวประมง โดยในวันนี้ในที่ประชุม ได้ร่วมประชุมกับชาวประมงรับฟังความคิดเห็นพิจารณาหลักเกณฑ์กลางในการผ่อนผันให้ใช้เครื่องมืออวนรุนทำการประมง โดยมีชาวประมงจาก อ.ท่าฉาง อ.พุนพิน อ.เมือง และอ.กาญจนดิษฐ์ ซึ่งจาการสำรวจพบว่าทั้ง4 อำเภอมีเรืออยู่ทั้งสินจำนวน 139 ลำ

ทั้งนี้หลักเกณฑ์กลางในการผ่อนผันให้ใช้เครื่องมืออวนรุนทำการประมงกรมประมงโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสำรวจและจัดทำหลักเกณฑ์
กลางเพื่อเป็นกรอบแนวทางให้คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดจังหวัดนำไปพิจารณาถึงความเหมาะสมในพื้นที่ รวมถึงรับฟังความเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการอนุญาตผ่อนผันให้ไข้เครื่องมืออวนรุนทำการประมง โดยมีรายละเอียด ดังนี้คือ 1.อนุญาตให้ใช้เครื่องมืออวนรุนประกอบเรือกลที่มีขนาดต่ำกว่าสิบตันกรอสได้ 1 ลำต่อราย 2.วิธีทำการประมงจะต้องนำถุงอวนประกอบคันรุนที่ ติดตั้งอยู่’ด้านหน้าเรือยนต์แล้วใช้เรือยนต์ผลักดันเครื่องมืออวนรุนให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้า 3.เรือประมงขนาดต่ำกว่า 5 ตันกรอส ให้ใช้คันรุนที่มีความยาวไม่เกิน 16 เมตรและเรือประมงขนาดตั้งแต่ 5 ตันกรอสขึ้นไปแต่ไม่ถึง 10 ตันกรอส ให้ใช้คันรุนที่มีความยาวไม่เกิน 24 เมตร 4.ห้ามติดโซ่ระหว่างคันรุนหน้าปากอวน แต่สามารถติดตัวถ่วงน้ำหนักที่แนบกับเชือกคร่าวล่างได้ 5.สามารถใช้อวนที่มีความยาวของเชือกคร่าวล่างได้ไม่เกิน 11 เมตร 6.ขนาดตาอวนตลอดผืนไม่น้อยกว่า 4 เชนติเมตร 7.อนุญาตให้เรือประมงขนาดต่ำกว่า 5 ตันกรอส ทำการประมงนอกเขตระยะที่มากกว่า 1,500 เมตร นับจากขอบน้ำตามแนวชายฝั่งขณะทำการปรประมง และ 8.อนุญาตให้เรือประมงขนาดตั้งแต่ 5 ตันกรอสขึ้นไปแต่ไม่ถึง 10 ตันกรอส ทำการประมงนอกเขตระยะที่มากกว่า 3,000 เมตร นับจากขอบน้ำตามแนวชายฝั่งขณะทำการประมง ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ โดยให้จัดส่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้ 18 จังหวัด ดำเนินการรับฟังความเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง และเสนอนอต่อคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเพื่อพิจารณาให้เห้เหมาะสมกับบริบทด้านพื้นที่ต่อไป ทั้งนี้ จังหวัดสามารถปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าวในส่วนของขนาดเรือประมงและระยะในการทำการประมงในข้อ 7 และข้อ 8 ซึ่งต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขขนาดเรือที่ต่ำกว่า 10 ตันกรอสและทำการประมงนอกเขตระยะที่มากกว่า 1,500 เมตร นับจากขอบน้ำตามแนวชายฝั่งขณะทำการประมงทั้งนี้ หากเห็นเหมาะสมจังหวัดสามารถเสนอหลักเกณฑ์เรื่องดังกล่าวในรูปแบบของการกำหนดแผนที่แนบท้ายประกาศฯ ที่ระบุพิกัดภูมิศาสตร์ได้

ซึ่งจากการร่วมประชุมชาวประมงส่วนใหญ่ ยอมรับในความคิดเห็นการพิจารณาหลักเกณฑ์กลางในการผ่อนผันให้ใช้เครื่องมืออวนรุนทำการประมง แต่ก็ยังมีกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านอ.กาญจนดิษฐ์ ที่ทำการประมงในบางช่วงฤดูการที่มีปลาเกล็ดขาวที่เป็นปลาขนาดเล็กในช่วง 4 เดือนตั้งแต่ประมาณเดือนธันวาคม ไปถึงเดือนประมาณเดือนมีนาคม ที่จะขอผ่อนผันใช่อวนตาเล็ก ทั้งนี้ทางประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานีจะได้เก็บรายละเอียดและข้อมูลเพื่อนำเสนอต่อกรมประมงตามขั้นตอนเพื่อจะต้องนำไปพิจารณาแก้ไขกฎหมายเครื่องมือประมงตามขั้นตอนในความเหมาะสมหรือเห็นสมควรหรือไม่ต่อไป

///////

อ่านแล้ว168 times!

แบ่งปันข่าวนี้ :

You May Also Like

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.