ดร.ธนกฤต ที่ปรึกษา รมต.สธ.ลงพื้นที่น้ำท่วมอยุธยา กำชับดูแลผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางพื้นที่น้ำท่วม เรียกร้องทบทวนสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำแก้น้ำท่วมซ้ำซาก

วันที่ 6 กันยายน 2567 นายกองตรี ดร.ธนกฤต จิตอารีย์รัตน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นางสาว ณัฐณิชา บุรณศิริ ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงสาธารณสุข นพ.เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิดีกรมอนามัย นพ.ภานุวัฒน์ ปานเกตุ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 4 นพ.ปรีชา เปรมปรี สาธารณสุขนิเทศก์เขตสุขภาพที่ 4 พร้อมคณะเดินทางลงพื้นที่ประสบอุทกภัย ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมี นพ.ยุทธนา วรรณโพธิ์กลาง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นพ.เศกสรรค์ ชวนะดีเลิศ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พล.ต.ต.โชติวัฒน์ เหลืองวิสัย ผู้บังคับการตำรวจจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมตรวจเยี่ยมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และมอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบภัย ในพื้นที่ ตำบลกุฎี และ ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ ตำบลน้ำเต้า ตำบลวัดตะกู อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มี 7 อำเภอที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ได้แก่ อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา อำเภอบางบาล อำเภอบางปะหัน อำเภอบางบาล อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน และ อำเภอพระนครศรีอยุธยา 71 ตำบล 339 หมู่บ้าน 10,028 ครัวเรือน และประชากรที่ได้รับผลกระทบ 29,071 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิตจากอุทกภัย
ซึ่งในปัจจุบันจังหวัดฯ ยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้บางอำเภอและตำบลยังคงมีน้ำท่วมขังในบริเวณพื้นที่ต่ำ สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยาพิจารณาเปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (PHEOC) ในวันที่ 28 สิงหาคม 2567 เพื่อติดตามสถานการณ์และประเมินผลกระทบ พร้อมทั้งรายงานสถานการณ์ทุกวันอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ และเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพที่มากับน้ำท่วม อาทิ ฉี่หนู ตาแดง ไข้เลือดออก
รวมถึงดูแลสุขอนามัยของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขในการปฏิบัติหน้าที่ด้วย มีการจัดบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขเคลื่อนที่ระหว่างเกิดอุทกภัย อาทิเช่น หน่วยแพทย์แผนไทยคลายทุกข์ หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต(MCATT)
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้สนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ ให้แก่ อำเภอที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ ชุดยาตำราหลวง จำนวน 650 ชุด ยาน้ำกัดเท้า(Whitfield’s ointment 15 g) 19,150 ตลับ รองเท้าบูท(สั้น/ยาว) จำนวน 169 คู่ และยาทากันยุง จำนวน 21,000 ซอง
กระทรวงสาธารณสุขยืนยันถึงความมุ่งมั่นในการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในทุกสถานการณ์ด้วยการสนับสนุนทั้งด้านการแพทย์และการดำรงชีวิตในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้กระทรวงสาธารณสุขขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนผ่านพ้นวิกฤตไปได้อย่างปลอดภัย “ กระทรวงสาธารณสุขไม่ทิ้งประชาชน



นายกองตรี ดร.ธนกฤต จิตอารีย์รัตน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เราได้ประสานมากับทางท่านผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในขณะนี้น้ำเริ่มท่วมในพื้นที่อำเภอบางบาล อำเภอผักไห่และอีกหลายอำเภอรวม 7 จุด ทางกระทรวงสาธารณสุขโดยทาง ท่าน สมศักดิ์ เทพสุทิน ได้มีข้อสั่งการให้ดูแลพี่น้องประชาชนในเรื่องสุขภาพ ในเรื่องของผู้ป่วยติดเตียง อาจจะมีประเด็นก่อนหน้านี้ว่ามีผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถเคลื่อนตัวได้ในพื้นที่นำท่วมขังและเสียชีวิต เราได้มีมาตรการระวังป้องกันในขณะที่น้ำยังไม่ท่วมไปมากว่านี้ เราได้บูรณาการกันสาธารณสุข ฝ่ายปกครอง และตำรวจ ร่วมกันช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในทุกเรื่อง

ในช่วงสถานการณ์น้ำท่วมทางสาธารณสุข ได้ปูพรหมในทุกจุดในพื้นที่น้ำท่วม สาธารณสุขจังหวัดมีข้อมูลของผู้ป่วยที่อยู่ในแต่ละพื้นที่มีความหนักความเบาอย่างไร เรามีการดูแลถ้าในพื้นที่ไหนน้ำท่วมผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือสูงวัย เราก็จะมีการรับตัวมาอยู่ในโรงพยาบาลในพื้นที่ที่ใกล้เคียง หรือใครที่จะยังอยู่อาศัยในบ้านเราก็จะมีเจ้าหน้าที่ อสม.เจ้าหน้าที่สาธารณสุขไปลงพื้นที่ในส่วนนี้อยู่
ฝากถึงพี่น้องประชาชนที่ประสบปัญหาน้ำท่วม ในเรื่องสุขภาพเป็นปัญหาใหญ่เราใส่ใจ และทาง ท่าน สมศักดิ์ เทพสุทิน เน้นย้ำบูรณาการในเชิงรุก ให้กับพี่น้องประชาชนเข้าถึงในเรื่องนี้มากที่สุด





ปัญหาน้ำท่วมเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน พี่น้องประชาชนก็ได้รับผลกระทบมาก โดยเฉพาะน้ำท่วมแต่ละครั้งเศรษฐกิจสูญเสียไป คิดว่าในส่วนที่ต้องเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่หรือทางรัฐบาลได้ตระหนักในเรื่องของการเกิดเหตุในลักษณะซ้ำซาก น้ำท่วมบ่อยๆทางชาวบ้านก็ไม่สบายใจ ปัญหาที่เกิดขึ้นควรจะได้รับการพิจารณาควรจะมีมาตราการช่วยเหลืออุทกภัยอย่างไรได้บ้าง อาทิเช่น แม่น้ำมีทั้งหมด 4 สาย จะเห็นได้ว่ามีอยู่สายหนึ่ง สายยม เราไม่มีในเรื่องของเขื่อนกั้นน้ำโดยเฉพาะตรงนี้ คือประเด็นปัญหาให้พิจารณาสมควรที่จะมีเขื่อนรองรับน้ำหรือไม่ ถ้ามีแล้วเป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชน เรื่องนี้น่าจะนำมาทบทวนให้พี่น้องประชาชนได้ตระหนักควรที่จะมีเขื่อนดังกล่าวหรือไม่เพราะงบประมาณในการใช้สร้างหมื่นกว่าล้านครั้งเดียว แต่ว่าจากนี้ต่อไปสิ่งที่เกิดขึ้นเกิดมานมนาน ผมยังจำได้ว่า พศ.2526 ที่กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันนี้ก็ยังเห็นน้ำท่วมอยู่ด้วยความลำบากของพี่น้องประชาชนมาโดยตลอดขณะนี้เองอยากให้ทบทวน เพราะปัญหานี้เกิดของคนทั้งชาติไม่ใช่แค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นายกองตรี ดร.ธนกฤต จิตอารีย์รัตน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าว
อ่านแล้ว9797 times!