ผู้ตรวจราชการกระทรวง พม.เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการคณะทำงาน และชุดปฏิบัติการหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน

แบ่งปันข่าวนี้ :

ผู้ตรวจราชการกระทรวง พม.เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการคณะทำงาน และชุดปฏิบัติการหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน


14 สิงหาคม 2567 เวลา 09.30 น. นายกิตติ อินทรกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการคณะทำงาน และชุดปฏิบัติการหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน
พร้อมบรรยายพิเศษ “การขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงพม.ในยุควิกฤตประชากร ณ ห้องแก้วสมุย 2
โรงแรมแก้วสมุยรีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยบุคลากรของหน่วยงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน จำนวนทั้งสิ้น 50 คน
โดย นางอุบล ทองสลับล้วน ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 กล่าวว่ากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้มีการจัดตั้งศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) (Human Security Emergency Management Center : HuSEC) เพื่อเป็นหน่วยงานกลาง
ในการเร่งรัด จัดการ ติดตามการดำเนินงาน ในการให้ความช่วยเหลือคุ้มครองสวัสดิภาพประชาชน
และกลุ่มเป้าหมาย และการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์เชิงรุก ในการสร้างการรับรู้แก่ทุกภาคส่วน เพื่อให้มีส่วนร่วมในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาสังคม โดยมีทีมปฏิบัติการหน่วยเคลื่อนที่เร็วศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพ ทีมสหวิชาชีพ และภาคีเครือข่ายร่วมปฏิบัติการ ในการขับเคลื่อนงานศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน ซึ่งมีแผนขับเคลื่อนงาน ตามภารกิจไปพร้อมกันทุกระดับทั้งระดับประเทศ ระดับกลุ่มจังหวัด


และระดับจังหวัด โดยสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10 เป็นโซ่ข้อกลางเชื่อมประสานระหว่างส่วนกลางกับส่วนภูมิภาคเพื่อแปลงนโยบาย ข้อมูลสารสนเทศ องค์ความรู้และแผนงานต่างๆ ให้แก่หน่วยงาน พม.หนึ่งเดียว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคีเครือข่าย ภาคประชาสังคม ในพื้นที่ความรับผิดชอบ ๗ จังหวัด
ภาคใต้ตอนบน ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร กระบี่ ระนอง พังงา และภูเก็ต
จะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้คณะทำงานขับเคลื่อนศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) ของจังหวัด และกำกับ ติดตามดูแลในภาพรวมของระดับกลุ่มจังหวัด จากการลงพื้นที่นิเทศติดตามงานและร่วมตรวจราชการ การขับเคลื่อนงานศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) พบว่า ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้
ความเข้าใจ และมีทักษะในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน โดยเฉพาะความรู้และทักษะในการวิเคราะห์ สถานการณ์ปัญหา การดำเนินการช่วยเหลือ และการประสานส่งต่อผู้ประสบปัญหาทางสังคม รวมถึงการสื่อสารสร้างการรับรู้ในช่องทางต่างๆ เนื่องจาก ผู้ประสบปัญหาทางสังคมมีความหลากหลาย ต้องใช้แนวทางปฏิบัติ ข้อระเบียบและกฎหมายเฉพาะกลุ่ม การขับเคลื่อนงานร่วมกันของทีม พม.หนึ่งเดียว ภายใต้ความรู้และทักษะการปฏิบัติงานที่ต่างกันตามบทบาทภารกิจของแต่ละหน่วยงาน จึงมีข้อจำกัดในเรื่องความรู้และทักษะในปฏิบัติกับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ

ด้านนายกิตติ อินทรกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติและมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาเป็นประธาน ในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการคณะทำงาน และชุดปฏิบัติการหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน ซึ่งศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน เป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุน การปฏิบัติงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่มีความสอดคล้อง กับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580 แผนแม่บทภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติ (๑๗) ประเด็น ความเสมอภาคและหลักประกันทางสังคม แผนย่อย 1 การคุ้มครองทางสังคมขั้นพื้นฐานและหลักประกันทางสังคมเศรษฐกิจและสุขภาพ
เน้นการขยายความคุ้มครองทางสังคมให้ทุกคนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข เป็นการจัดสวัสดิการที่ทุกภาคส่วนร่วมกันรับผิดชอบสร้างระบบคุ้มครองและป้องกันแบบถ้วนหน้า และพัฒนาระบบหลักประกันทางสังคมด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ ให้มีประสิทธิภาพและความคุ้มค่า ครอบคลุม อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
แผนย่อย 2 มาตรการเจาะจงกลุ่มเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะกลุ่ม เน้นการพัฒนามาตรการ พัฒนากลไกสนับสนุนช่วยเหลือประชาชนในกลุ่มเปราะบาง มีความเสี่ยงสูง และมีความสามารถในการปรับตัวตัว


เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรของรัฐในการแก้ปัญหา ให้ตรงจุดและตรงกับกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างแท้จริงและเหมาะสมเป็นการยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน1300 พม. ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการให้คำปรึกษา แนะนำ รับแจ้งเรื่องราว ร้องทุกข์ และเบาะแสปัญหาสังคมของกระทรวง พม. ผ่านช่องทางการให้บริการ ได้แก่ โทรศัพท์สายด่วน 1300 การเฝ้าระวังผ่านสื่อสังคมออนไลน์ การติดต่อขอรับบริการด้วยตนเอง โดยมีเจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งการประสานส่งต่อไปยังหน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม. และภาคีเครือข่ายทั้งส่วนกลางและภูมิภาค การดำเนินงานเรื่องราวร้องทุกข์ของผู้ประสบปัญหาทางสังคมที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ เกินระยะเวลาที่กำหนด ด้วยข้อจำกัด ด้านสถานที่รองรับผู้ประสบปัญหาทางสังคม ความซ้ำซ้อนของสภาพปัญหาและกลุ่มเป้าหมาย ด้านระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ด้านงบประมาณ รวมถึงพื้นที่ที่ห่างไกล กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ จึงมีนโยบายจัดตั้งศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาขน (ศรส.) (Human Security Emergency Management Center : HuSEC)

อ่านแล้ว226 times!

แบ่งปันข่าวนี้ :

You May Also Like

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.