สุราษฎร์ฯเปิดเวที”ประชาพิจารณ์ข้อเสนอเชิงนโยบายปัญหาราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันตกต่ำทั้งระบบ”

แบ่งปันข่าวนี้ :

สุราษฎร์ฯเปิดเวที”ประชาพิจารณ์ข้อเสนอเชิงนโยบายปัญหาราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันตกต่ำทั้งระบบ”

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 31 ก.ค.67 ที่โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี นายนัยฤทธิ์ จำเล ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ นายธีระศักดิ์ ยมสวัสดิ์ สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประธานเกษตรกรจังหวัดชุมพร คณะทำงานผู้ประสานงานสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติภาคใต้ ร่วมเปิด “เวทีประชาพิจารณ์ข้อเสนอเชิงนโยบายปัญหาราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันตกต่ำทั้งระบบ” โดยมีประธานสภาเกษตรกรจังหวัด หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด พนักงาน สภาเกษตรกรจังหวัด ภาคใต้ 14 จังหวัดเข้าร่วม

ทั้งนี้ปีงบประมาณ 2567 สภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะทำงานผู้ประสานงานสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประจำภาคใต้ เพื่อให้การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเรียบร้อย การประชุมการขับเคลื่อนภารกิจเชิงรุกข้อเสนอเชินโยบายโดดเด่นประจำภาค ในประเด็นปัญหาเร่งด่วนที่มีความโดดเด่นตามสถานการณ์ปัจจุบันของแต่ละภาค (ทำเร็ว ได้ผลเร็ว :
Ouick Win) ได้พิจารณาประเด็นปัญหาราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันตกต่ำที่มีผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมของประเทศ โดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยตามบริบทของพื้นที่และมาตรการของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมีความยั่งยืนและสามารถเข้าถึงปัญหาได้ทันสถานการณ์ ทั้งยังเป็นการคุ้มครองและรักษาประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร ตามบทบาทหน้าที่และภารกิจรวมถึงเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติพ.ศ. 2553 ในการนี้ คณะทำงานผู้ประสานงานสมาชิกสภาแกษตรกรแห่งชาติประจำภาคใต้ประสานงานกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ สภาเกษตรกรจังหวัดชุมพร และสำนักงานสภา
เกษตรกรจังหวัดภาคใต้ องค์กรเอกชน เกษตรกร องค์กรเกษตรกร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดเวทีประชาพิจารณ์ข้อเสนอเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันตกต่ำทั้งระบบ โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการคือ,เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเสนอต่อสภาเกษตรกรแห่งชาติ ตามแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่สภาเกษตรกรแห่งชาติกำหนด การแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันตกต่ำที่มีผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมของประเทศ,เพื่อเป็นการคุ้มครองและรักษาประโยชน์สูงสุดของเกษตรกรตามบทบาทหน้าที่ และภารกิจรวมถึงเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ.2553 ,เพื่อให้ประธานสภาเกษตรกรจังหวัด หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด พนักงาน สภาเกษตรกรจังหวัด ภาคใต้ 14 จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีแนวทางจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายไปในทิศทางเดียวกัน

ด้านนายนัยฤทธิ์ จำเล ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า สภาเกษตรกรแห่งชาติ มุ่งเน้นในการเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรและนโยบายการเกษตรของรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ความสำคัญกับการทำงานแบบมีส่วนร่วมระหว่างรัฐบาลและเกษตรกร จึงเป็นการช่วยส่งเสริมการพัฒนาด้านเกษตรและเศรษฐกิจของประเทศ สำหรับเวทีประชาพิจารณ์ข้อเสนอเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันตกก่ำทั้งระบบบ ในวันนี้ สะท้อนปัญหาเร่งด่วนสู่รัฐบาลในรูปแบบ Quick Win หรือการแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว เป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการตอบสนองความต้องการของเกษตรกรอย่างทันทีทันใด เนื่องจากสามารถแสดงให้เห็นถึงการรับฟังและการตอบสนองที่รวดเร็วจากฝ่ายบริหาร ซึ่งมีข้อดีหลายประการดังนี้คือ สร้างความไว้วางใจเมื่อรัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหาที่ประชาชนเผชิญอยู่ได้อย่างรวดเร็วจะช่วยสร้างความไว้วางใจและความเชื่อมั่นในรัฐบาลมากขึ้น,ลดความตึงเครียดในสังคม การแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความตึงเครียดและความไม่พอใจในสังคม ทำให้เกิดสังคมที่สงบสุขมากขึ้น,เพิ่มความพึงพอใจ ประชาชนจะรู้สึกพึงพอใจมากขึ้นเมื่อเห็นว่ารัฐบาลให้ความและใส่ใจกับปัญหา,
สนับสนุนการทำงานของรัฐบาล การแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็วจะช่วยเสริมภาพลักษณ์ของรัฐบาลในฐานะที่เป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อสถาณการณ์

คณะทำงานผู้ประสานงานสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติประจำภาคใต้ มีหน้าที่และอำนาจประสาน ขอความร่วมมือกับสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ สมาชิกสภาเกษตกรภาคใต้ สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดภาคใต้ หน่วยงานรัฐองค์กรเอกชน ตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็น
ผู้แทนของสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดภาคใต้ ในการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้อง รายงานผลการปฏิบัติงาน การดำเนินงานต่อสภาเกษตรกรแห่งชาติ หรือประธานสภาเกษตรกร

ประเด็นปัญหาเร่งด่วนที่มีความโดดเด่นตามสถานการณ์ปัจจุบันของภาคใต้ คือ ประสบปัญหาราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันตกต่ำที่มีผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมของประเทศ ทำให้เกิดการจัดทำเวทีประชาพิจารณ์ข้อเสนอเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันตกต่ำทั้ง
ระบบ โดยหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง กลุ่มองค์กรเกษตรกร และเกษตกรร่วมในการคิดวิเคราะห์และขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาราคาผลตกต่ำทั้งระบบ อาจประกอบด้วยหลายมาตรการที่สามารถดำเนินการได้ทันที่ดังนี้คือ

  • การกำหนดราคาประกันชั้นต่ำ: รัฐบาลสามารถกำหนดราคาประกันขั้นต่ำสำหรับ
    ผลผลิตปาล์มน้ำมัน เพื่อให้เกษตรกรมีควานมั่นใจว่าจะไม่ประสบกับการขาดทุนจากราคาที่ต่ำเกินไป
    การสนับสนุนเงินอุดหนุน จัดสรรงบประมาณเพื่อให้เงินอุดหนุนแก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากราคาตกต่ำ เพื่อช่วยลดภาระทางการเงินของเกษตรกรในระยะสั้น
    การส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์: รัฐบาลสามารถส่งเสริมและสนับสนุนกา
    ผลผลิตปาล์มน้ำมันให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น เช่น น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ทรือ
    ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
    การสร้างตลาดใหม่ ค้นหาตลาดใหม่ทั้งในและต่างประเทศสำหรับผลิตภัณฑ์ปาล์ม
    น้ำมัน เช่น การส่งเสริมการส่งออกไปยังประเทศที่มีความต้องการสูง
    การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในการขนส่งและการ
    จัดเก็บเพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายสินค้า
    การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนจากปาล์ม
    น้ำมัน เช่น การผลิตไบโอดีเซล เพื่อเพิ่มความต้องการใช้ภายในประเทศ
    การให้ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ จัดการอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี
    ใหม่ๆ ในการปลูกและดูแลปาล์มน้ำมันเพื่อเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต
    การสร้างกลไกการตลาดแบบเกษตรกรรวมกลุ่ม ส่งเสริมการรวมกลุ่มของ
    เพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองราคากับพ่อค้าและโรงงานเป็นต้น
    และขอให้ผู้เข้าร่วมทุกท่านได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นข้อเสนอเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันตกต่ำทั้งระบบบ เพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมีความยั่งยืนและสามารถเข้าถึงปัญหาได้ทันสถานการณ์ทั่วถึงทั้งประเทศ ตามทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่สภาเกษตรกรแห่งชาติกำหนด มีส่วนในการแก้ไขราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันตกต่ำที่มีผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมของประเทศต่อไป

///////

อ่านแล้ว171 times!

แบ่งปันข่าวนี้ :

You May Also Like

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.