สมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย(อาร์อี100) ผนึกกำลังเครือข่าย จัดงานเสวนา

แบ่งปันข่าวนี้ :

สมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย(อาร์อี100) ผนึกกำลังเครือข่าย จัดงานเสวนา
“ความท้าทายและโอกาสในการพัฒนาอตุสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน”
มุ่งเน้นรู้เท่าทันสถานการณ์พลังงาน ASEAN และสถานการณ์พลังงานในอนาคต

​วันที่ 31 สิงหาคม 2566 นายวีระเดช เตชะไพบูลย์ นายกสมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย(อาร์อี100) หรือสมาคมฯ RE100 เปิดงานเสวนา “ความท้าทายและโอกาสในการพัฒนาอตุสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน” โดยเป็นความร่วมมือกับมูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน และกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.สุวิทย์ ธรณินทร์พานิช ประธานกรรมการมูลนิธิฯ นายนที สิทธิประศาสน์ รองประธานกลุ่มฯ พลังงานหมุนเวียน รวมถึง คณะผู้บริหาร จากภาครัฐ และเอกชน เข้าร่วมฟังเสวนา ​

การจัดเสวนา ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ให้สมาชิกสมาคมฯ รวมถึงบุคคลทั่วไปที่สนใจ เกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน ได้ตระหนัก รู้เท่าทันสถานการณ์ อันเนื่องจาก Climate Change และกฎกติกา CBAM เพื่อเตรียมพร้อมกับภาวะการแข่งขันทางด้านธุรกิจ
​ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม ASEAN Sustainable Energy Week 2023 งานแสดงเทคโนโลยี และการประชุมนานาชาติ ด้านพลังงานทดแทน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเทคโนโลยีอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม ถึง 1 กันยายน 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

​โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรชั้นนำ และผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานหมุนเวียน การเสวนาแบ่งเป็น ภาคเช้า สถานการณ์พลังงานใน ASEAN ประกอบด้วย

  1. ความคืบหน้า ด้าน RE ของกลุ่มประเทศใน ASEAN
    – Status of RE development in ASEAN countries
    – RE as a solution for Climate Action
    โดย คุณนที สิทธิประศาสน์ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน
  2. Thailand grid modernization for RE
    – Decarbonization
    – Thailand Taxonomy
    – Grid Modernization for Sustainable Renewable Energy
    โดย คุณอาทิตย์ เวชกิจ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน
  3. Renewable Energy in Vietnam
    – Overview of Power and Energy Sector of Vietnam
    – Power Development Plan PDP8 of Vietnam
    – Key Determinants & Best Practices
    – Energy Transition of Vietnam and Thailand
    โดย ดร.สุภ ไวศยารัทธ์ Super Energy Group- Country Director Vietnam
    ดำเนินรายการโดย ​คุณสิริกาญจน์ ประเสริฐยิ่ง สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา ​​​ ​(องค์การมหาชน)

:ภาคบ่าย เนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับพลังงานในอนาคต ประกอบด้วย

  1. พลังงานไฟฟ้าจากหญ้าเนเปีย (Biogas)
    – Policy of Biogas
    – Electricity from Napier grass
    โดย คุณผจญ ศรีบุญเรือง รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน
  2. Liquid Biomethane (LBM)
    – Overview of biogas upgrading and biogas conversion products, i.e., biomethane, liquid biomethane (LBM).
    – Market trends with applications of biomethane business in European countries and Thailand.
    – Example of current technologies of biogas upgrading and conversion to biomethane and LBM.
    – Example of current technologies of biogas upgrading and conversion to biomethane and LBM.

โดย คุณเกียรติศักดิ์ กอบกาญจนากร บริษัท กรีนเอ็นเนอร์ยี่ เน็ทเวอร์ค จำกัด

  1. Sustainable Aviation Fuel (SAF)
    – “Sustainable Aviation Fuel (SAF) : New Challenges for Thailand Ethanol Industry.”
    – Thailand fuel ethanol industry affected by EV policy and market growth.
    – Thailand SAF opportunity, development, and current situation.
    โดย ดร.เสกสรรค์ พรหมนิช รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน
  2. Hydrogen Trend in Thailand
    – Role of hydrogen in decarbonization
    – Introduction to green hydrogen
    – Current hydrogen activities in Thailand
    โดย ดร.ธนา ศรชำนิ สถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
    ดำเนินรายการโดย ​ดร.ดิษฐา นนทิวรวงษ์ เลขานุการ กกร.พลังงาน
    ​การเสวนา ดังกล่าว ได้รับความสนใจอย่างดียิ่ง จากสมาชิกสมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย (อาร์อี100) และผู้ประกอบการทั่วไป นอกจากนี้ภายในงานสมาคมฯ ได้ออกบูธจัดแสดงภายในโซน Carbon Free Valley ได้รับความสนใจโดยเฉพาะผู้ประกอบการ ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ ​ผู้ที่สนใจ โปรดติดตามคลิปการเสวนา และติดตามข่าวสารการ อบรม สัมมนาได้ทางเว็บไซต์ที่ www. re100th.org เร็วๆนี้
    ​​สนใจสมัครสมาชิกสมาคมฯ RE100

สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย

บจก.อากาศสดใส ร่วมรณรงค์ลดค่า PM 2.5

อ่านแล้ว330 times!

แบ่งปันข่าวนี้ :

You May Also Like

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.