“ บิ๊กป้อม ” ลงพื้นที่กรุงเก่า พร้อมคณะรัฐมนตรีคนสำคัญๆ ตรวจความพร้อมพื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำหลาก มั่นใจไม่เกิดมหาอุทกภัยซ้ำรอยปี 54 แน่นอน
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 22 กันยายน 2564 ที่ ห้องประชุม โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางบาล อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่ติดตามความพร้อมของการบริหารจัดการน้ำหลากในพื้นที่ลุ่มต่ำของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยมี นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวต้อนรับและรายงานสถานการณ์น้ำในพื้นที่ นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) นำเสนอภาพรวมการบริหารจัดการน้ำรับน้ำหลากตามมาตรการ กอนช. และแผนแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทั้งระบบในลุ่มน้ำเจ้าพระยา นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน นำเสนอแนวทางการจัดการและเตรียมพื้นที่รับน้ำหลากในพื้นที่ลุ่มต่ำ และนายเชษฐา โมสิกรัตน์ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นำเสนอแนวทางให้ความช่วยเหลือประชาชน พร้อมด้วย ผู้แทนหน่วยงานในพื้นที่ เข้าร่วมประชุม โดยมี ผู้บริหารของพรรพลังประชารัฐ ส.ส.ในพรรค ประมาณ 40 คน เช่น ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรค พปชร. นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรค นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และประธานวิปรัฐบาล นายเอกราช ช่างเหลา ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม. น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี รวมถึง สส.จากหลายจังหวัดในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสาน
จากนั้น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ เดินทางติดตามการบริหารจัดการที่ ประตูระบายน้ำปากคลองบางบาล ตำบลไทรน้อย อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สรุปโดยรวม การระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ช่วงเช้าวันที่ 22 กันยายน 2564 อยู่ที่ 1,610 ลบ.ม./วินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 129 ลบ.ม./วินาที ปัจจุบันบริเวณแม่น้ำน้อย พื้นที่นอกคันกั้นน้ำ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านแพน อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บ้านเรือนได้รับผลกระทบ จำนวน 18 หลังคาเรือน ระดับน้ำสูงประมาณ 110 เซนติเมตร ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งบริเวณแม่น้ำน้อย พื้นที่นอกคันกั้นน้ำ หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านคลัง อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บ้านเรือนได้รับผลกระทบ จำนวน 5 หลังคาเรือน ระดับน้ำสูงประมาณ 35 เซนติเมตร ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเนื่องจากปริมาณการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา มีปริมาณเพิ่มขึ้น คาดว่าระดับน้ำในพื้นที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 20 – 25 เซนติเมตร โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางบาล ได้ให้ความช่วยเหลือ โดยการเตรียมความพร้อมให้เจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ประสานกับหน่วยงานในพื้นที่ แจ้งเตือนและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้แนะนำแนวทางพร้อมกับมอบนโยบายในการปฎิบัติเพิ่มเติม เน้นการบริหารจัดการน้ำให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด และให้มีน้ำเก็บไว้ใช้ในภาคของการเกษตร ด้วย รวมถึงการให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบ สำหรับประตูระบายน้ำบางบาล จะช่วยบรรเทาอุทกภัยตัวเมืองพระนครศรีอยุธยาและพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างเฉลี่ย 1.9 – 2.5 ล้านไร่/ปี เพิ่มศักยภาพในการใช้ประโยชน์พื้นที่ด้านเกษตรกรรมกว่า 229,138 ไร่ เป็นแหล่งน้ำต้นทุนเพื่ออุปโภค – บริโภค 15 ล้าน ลบ.ม. ครอบคลุมพื้นที่ 48 ตำบล 3 เทศบาล 362หมู่บ้าน ถนนบนคันคลองเป็นเส้นทางคมนาคมเชื่อมระหว่าอำเภอบางบาลและบางไทรและเป็นเส้นทางสัญจรทางน้ำเลี่ยงตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา ประตูระบายบางบาล สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง มีประสิทธิภาพในการระบายน้ำ 500 ลบ.ม./วินาที จะลดความเสี่ยงน้ำท่วมทุ่งบางบาลได้ถึงร้อยละ 70 เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ การออกแบบประตูระบายน้ำบางบาล ออกแบบโครงสร้างให้
อ่านแล้ว470 times!