สำนักงาน ป.ป.ช. จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมาชิกชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต สู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ครั้งที่ 8

แบ่งปันข่าวนี้ :

สำนักงาน ป.ป.ช. จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมาชิกชมรม STRONG-

จิตพอเพียงต้านทุจริต สู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ครั้งที่ 8 พื้นที่ภาค 1 และกรุงเทพมหานคร

เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2564 สำนักงาน ป.ป.ช. โดยสำนักส่งเสริมและบูรณาการการมีส่วนร่วมต้านทุจริต ได้จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมาชิกชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต สู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ครั้งที่ 8 พื้นที่ภาค 1 และกรุงเทพมหานคร ภายใต้โครงการ STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Zoom Meeting เต็มรูปแบบ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย นายอุทิศ บัวศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. นางแก้วตา ชัยมะโน ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบูรณาการการมีส่วนร่วมต้านทุจริต ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค และสมาชิกชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตในพื้นที่ภาค 1 และกรุงเทพมหานคร จำนวน 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดลพบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง และกรุงเทพมหานคร


การดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รศ. ดร.มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ ที่ปรึกษาประธานกรรมการ ป.ป.ช. บรรยายในหัวข้อ “ผลลัพธ์และผลกระทบของการสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
ในการป้องกันการทุจริต” ซึ่งโครงการ “STRONG จิตพอเพียงต้านทุจริต” เริ่มดำเนินโครงการในปีงบประมาณ
พ.ศ. 2561 นำร่องจัดตั้งชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตใน 27 จังหวัด ต่อมาปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
ได้ขยายผลจัดตั้งชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตครอบคลุม 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2564 สมาชิกชมรม STRONG เกิดการตื่นตัวจับตามองแจ้งเบาะแส รวมทั้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริตและเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีความกล้าในการให้ข้อมูลต่อสำนักงาน ป.ป.ช. และการนำเสนอประเด็นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ จะเห็นได้จากประเด็นข่าวในปัจจุบัน เช่น โครงการจัดซื้อเสาไฟฟ้าประติมากรรม การจัดซื้อจัดจ้างวัสดุอุปกรณ์เพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดช่วงโควิด-19 โครงการอาหารกลางวัน และนมโรงเรียนตลอดจนถึงการทุจริตที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น
สำหรับการดำเนินกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมาชิกชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต พื้นที่ภาค 1 และกรุงเทพมหานคร จำนวน 10 จังหวัด ดำเนินการโดย นางสาวเบญญาภา ศิริวาท เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการ และนางนันทวัณณ์ หอมทรัพย์ เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการ ซึ่งการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน ผลลัพธ์ ผลกระทบ และกระแสสังคมจากการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ผ่านกลไกชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต ในการสร้างสังคมสุจริต ระหว่างสมาชิกชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดในพื้นที่ภาค 6 โดยมีผลการดำเนินงานเด่นของชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต ดังนี้

  1. ชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดชัยนาท : โครงการก่อสร้างถนนดินผิวลูกรังของเทศบาลตำบลโพงาม อำเภอสรรคบุรี โครงการขุดลอกแก้มลิงน้ำซับ อำเภอหนองมะโมง โครงการขุดลอกห้วยอีเม้ย อำเภอหันคา โครงการก่อสร้างถนนลาดยางผิวจราจรแอสฟัลท์ติกคอนกรีต อำเภอเมืองชัยนาท
    การสำรวจป้ายโฆษณารุกล้ำพื้นที่สาธารณะ อำเภอเมืองชัยนาท และโครงการระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท
  2. ชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดนนทบุรี : การทวงคืนทางเท้าสาธารณะ ให้ประชาชนอำเภอเมืองนนทบุรี การติดตามการดำเนินโครงการของหน่วยงานภาครัฐ กรณีมีการร้องเรียน การก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและวางท่อระบายน้ำของเทศบาลเมืองบางบัวทอง อำเภอบางบัวทอง การทวงคืนพื้นที่สาธารณะประโยชน์ บริเวณหน้าสนามกีฬาจังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองนนทบุรี และการลงพื้นที่สังเกตการณ์
    กรณีโรงงานเอกชนรุกล้ำลำรางสาธารณะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
  3. ชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดปทุมธานี : กรณีการปล่อยปละละเลย ให้เอกชนเข้าไปแสวงประโยชน์ในพื้นที่สาธารณะ (บริเวณใต้ทางข้ามแยกศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต และ โรงภาพยนตร์เมเจอร์ซีเนเพล็ครังสิต) อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
  4. ชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา : การแก้ไขปัญหาการรุกล้ำที่สาธารณะ (รุกล้ำทางเท้า) บริเวณถนนศรีสรรเพชรญ์ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  5. ชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดลพบุรี : การลงพื้นที่เพื่อสำรวจพื้นที่/ การประกอบการที่ผิดกฎหมาย หรือเสี่ยงต่อการผิดกฎหมายการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ในพื้นที่อำเภอโคกสำโรง
    อำเภอหนองม่วง อำเภอโคกเจริญ การลงพื้นที่เพื่อสังเกตการณ์การดำเนินโครงการ “โคก หนอง นา โมเดล”
    ในพื้นที่อำเภอบ้านหมี่และอำเภอชัยบาดาล และการติดตามการแก้ไขปัญหาในประเด็นสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ
    ในเขตพื้นที่อำเภอท่าวุ้ง อำเภอบ้านหมี่ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี
  6. ชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดสมุทรปราการ : โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์เกาะผีเสื้อ ในความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลพระสมุทรเจดีย์ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ โครงการจัดซื้อเสาไฟฟ้า โซลาเซลล์พร้อมประติมากรรมกินรี ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี
    การตรวจสอบการใช้รถยนต์ของทางราชการ ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
  7. ชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดสระบุรี : การเฝ้าระวังป้องกันการทุจริตการบังคับใช้กฎหมายในเขตพื้นที่จังหวัดสระบุรี กรณีรถบรรทุกไม่คลุมผ้าใบ ในพื้นที่อำเภอแก่งคอย อำเภอหนองแค
    และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี
  8. ชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดสิงห์บุรี : การสำรวจพื้นที่/การประกอบกิจการที่ผิดกฎหมายการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (COI) และนำข้อมูลภาคสนามมาสู่ชมรมเพื่อกำหนดแผนการดำเนินการและเฝ้าระวังในพื้นที่อำเภอท่าช้าง อำเภอบางระจัน อำเภอเมืองสิงห์บุรี และการลงพื้นที่เฝ้าระวังเพื่อจับตามองและแจ้งเบาะแสในการดำเนินโครงการของหน่วยงานภาครัฐ ในพื้นที่อำเภอพรหมบุรี อำเภอค่ายบางระจัน
    และอำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี
  9. ชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดอ่างทอง : โครงการอาหารกลางวันโรงเรียน ในพื้นที่อำเภอแสวงหาและอำเภอเมืองอ่างทอง และโครงการ“โคก หนอง นา โมเดล” ในพื้นที่อําเภอไชโย อําเภอสามโก้ อําเภอโพธิ์ทอง และอําเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
  10. ชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต กรุงเทพมหานคร : การดำเนินการติดตาม เฝ้าระวัง และประเมินสภาวการณ์อย่างรวดเร็วเพื่อเตือนภัย เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่บ่งชี้ว่าจะมีการทุจริต กรณีหน่วยบริการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเป็นเท็จจากเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง)

อ่านแล้ว330 times!

แบ่งปันข่าวนี้ :

You May Also Like

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.