สำนักงาน ป.ป.ช. เชิญภาคประชาชนร่วมปักหมุดความเสี่ยงต่อการทุจริต ครั้งที่ 3 พื้นที่ภาคเหนือตอนบน

แบ่งปันข่าวนี้ :

สำนักงาน ป.ป.ช. เชิญภาคประชาชนร่วมปักหมุดความเสี่ยงต่อการทุจริต ครั้งที่ 3 พื้นที่ภาคเหนือตอนบน

วันที่ 30 กรกฎาคม 2564 สำนักงาน ป.ป.ช. โดยสำนักส่งเสริมและบูรณาการการมีส่วนร่วม ต้านทุจริต นำโดยนางแก้วตา ชัยมะโน ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบูรณาการการมีส่วนร่วมต้านทุจริต พร้อมด้วย รศ.ดร. มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ ที่ปรึกษาประธานกรรมการ ป.ป.ช. จัดกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการ Focus Group เพื่อพัฒนาแผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต ครั้งที่ 3 ในพื้นที่ภาค 5 (ภาคเหนือตอนบน) ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการการพัฒนาแผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริตในประเทศไทยอย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลความเสี่ยงต่อการทุจริตในระดับพื้นที่ผ่านกระบวนการ มีส่วนร่วมของภาคประชาชนชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต ในพื้นที่ภาค 5 จำนวน 8 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน นำมาจัดทำเป็นแผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต (Corruption Risk Mapping) เพื่อใช้ร่วมกับฐานข้อมูลด้านอื่น ๆ ของสำนักงาน ป.ป.ช. อาทิ สถิติคดี และผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส (ITA) ในการกำหนดนโยบายและแผนการดำเนินงานด้านป้องกันและปราบปรามการทุจริตทั้งในระดับพื้นที่และในระดับประเทศต่อไป
การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ดำเนินการผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Zoom Meeting โดยมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ทั้งในส่วนกลางและพื้นที่ภาค 5 ตลอดจนสมาชิกชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตจาก 8 จังหวัด เข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 70 คน ทั้งนี้ ภาพรวมผลการปักหมุดพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต ในพื้นที่ภาค 5 ประเด็นที่สมาชิกชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริตร่วมกันอภิปรายเพื่อแสวงหาแนวทางการนำข้อมูลความเสี่ยงต่อการทุจริตไปสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหา อาทิ ความเสี่ยงต่อการทุจริตในการดำเนินโครงการ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โครงการที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการจัดซื้อจัดจ้าง และการเสนอราคาของภาครัฐ การเบิกจ่ายงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การเยียวยาเกษตกร รวมทั้งการกระทำผิดที่เกี่ยวกับการรุกล้ำลำน้ำ และทรัพยากรสาธารณะ เป็นต้น

อ่านแล้ว369 times!

แบ่งปันข่าวนี้ :

You May Also Like

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.