างรำจาก 16 อำเภอ กว่า 2,000 คน รำบวงสรวงถวายสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นปฐมฤกษ์ ก่อนจัดงาน “ งานยอยศยิ่งฟ้า อยุธยามรดกโลก ประจำปี 2567

แบ่งปันข่าวนี้ :

นางรำจาก 16 อำเภอ กว่า 2,000 คน รำบวงสรวงถวายสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นปฐมฤกษ์ ก่อนจัดงาน “ งานยอยศยิ่งฟ้า อยุธยามรดกโลก ประจำปี 2567 ”


เมื่อเวลา 8.39 น. วันที่ 6 ธันวาคม 2567 ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ภายในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการร่วมทำพิธีบวงสรวง ก่อนจะเริ่มการจัด “ งานยอยศยิ่งฟ้า อยุธยามรดกโลก ประจำปี 2567 ” ระหว่างวันที่ 13 – 22 ธันวาคม 2567 ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเฉลิมฉลองที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี 2534 จากองค์การยูเนสโก
โดยจะมีการสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นการขออนุญาตสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองในการจัดงาน รวมถึงเป็นการบวงสรวงบูรพมหากษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา เพื่อเป็นสิริมงคลให้แก่ชาวพระนครศรีอยุธยา และได้ยึดถือปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี


จากนั้น นางวัชราภรณ์ รุ่งสาคร นายกเหล่ากาชาดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ ประชาชน นางรำ จาก 16 อำเภอ จำนวนกว่า 2,000 คน สวมใส่ชุดไทย รำถวายประกอบการพิธีบวงสรวง ด้วยเพลง “ ยอยศพระรามาธิบดีที่ 1 ” ซึ่ง เป็นเนื้อเพลงบวงสรวงที่กล่าวถึงพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) การกำเนิดของกรุงศรีอยุธยา ศิลปวัฒนธรรม และการทำมาค้าขายที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น
โดยการรำบวงสรวงนี้เป็นการรำประกอบเพลง “ ยอยศพระรามาธิบดีที่ 1 ” ที่เนื้อเพลงบรรยายถึงพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระรามาธิบดี หรือพระเจ้าอู่ทอง การกำเนิดของกรุงศรีอยุธยา ศิลปวัฒนธรรม และการทำมาค้าขายที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น นางรำทุกคนจะแต่งกายด้วยชุดไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อเฉลิมฉลองที่ทางองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนบัญชีมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534 ณ กรุงคาร์เธจ ประเทศตูนีเซีย


นางรำทั้งหมดจะร่วมรำตั้งแต่บริเวณหน้าอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง เชื่อมโยงไปถึงพระราชวังโบราณ วัดพระราม และวิหารพระมงคลบพิตร ซึ่งจะอยู่ใกล้เคียงกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ศาลหลักเมือง และวังช้างแลเพนียด ล้วนอยู่ในเขตเมืองมรดกโลกและอุทยานประวัติศาสตร์ฯ ขณะนางรำบวงสรวง ภาพที่ปรากฏออกสู่สายตาประชาชนจะสวยสดงดงามสมกับความเป็นเมืองมรดกโลก


ทั้งนี้ตั้งแต่ช่วงเช้า นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วย นางวัชราภรณ์ รุ่งสาคร นายกเหล่ากาชาดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำส่วนราชการ และพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมประกอบพิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัด ประกอบด้วย ศาลหลักเมือง อยุธยามหาปราสาท บวงสรวงสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) และพระบรมสารีริกธาตุ เป็นปฐมฤกษ์ ก่อนการจัดงาน “ ยอยศยิ่งฟ้า อยุธยามรดกโลก” ประจำปี 2567 เพื่อเฉลิมฉลองที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี 2534 จนถึงปัจจุบัน ครบรอบ 33 ปี ทั้งนี้ กำหนดจัดงาน “ยอยศยิ่งฟ้า อยุธยามรดกโลก ระหว่างวันที่ 13 – 22 ธันวาคม 2567 ณ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

อ่านแล้ว176 times!

แบ่งปันข่าวนี้ :

You May Also Like

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.