กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดเวทีสัมมนา 4 ภาคฯ สร้างเครือข่ายสื่อภูมิภาคให้เข้มแข็ง

แบ่งปันข่าวนี้ :

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดเวทีสัมมนา 4 ภาคฯ สร้างเครือข่ายสื่อภูมิภาคให้เข้มแข็ง


วันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 ที่โรงแรมคลาสสิค คามิโอ อยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เปิดเวทีสัมมนา 4 ภาค โดย ผู้ผลิตสื่อมืออาชีพ สื่อท้องถิ่น สื่อทางเลือกและหน่วยงานที่ใช้สื่อเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนปัญหาและพัฒนาสังคม เข้าร่วมกิจกรรม ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2567


นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อสารมวลชน ประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการว่า “ เป็นเวทีแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคนทำสื่อในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นผู้ที่ใช้สื่อขับเคลื่อนสังคมในมิติต่าง ๆ ทุกคน ทุกสื่อ คือเครือข่ายสำคัญในการขับเคลื่อนสังคม การจับมือรวมพลังกันจะสามารถขับเคลื่อนงานไปได้ด้วยดีและรวดเร็วขึ้น เครือข่ายสื่อชุมชนเปรียบเหมือนกิ่งก้านสาขาของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ คาดหวังเวทีสัมมนา 4 ภาคฯ จะสามารถขยายผล สร้างเครือข่ายสื่อทั่วทุกภูมิภาคของไทย เพื่อช่วยให้ประชาชนผู้รับสื่อมีความรู้เท่าทันสื่อ ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ”
เครือข่ายกลุ่มเป้าหมายของเวทีสัมมนา 4 ภาคฯ ได้แก่ ผู้ผลิตสื่อมืออาชีพ สื่อท้องถิ่น สื่อทางเลือกและหน่วยงานที่ใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนปัญหาและพัฒนาสังคม รวมถึงเครือข่ายด้านวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เครือข่ายเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน เครือข่ายคนพิการและผู้สูงวัย และกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ โดยงานนี้จัดทั้งหมด 4 ภูมิภาค 4 จังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือตอนล่างที่จังหวัดพิษณุโลก ภาคกลางที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่จังหวัดนครพนม และภาคใต้ตอนบนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามลำดับ
นักข่าวที่อยู่ตามภูมิภาค หรือสติงเกอร์ จะไม่มีสวัสดิการยิ่ง ไม่มีกองทุนอะไรมาช่วยเหลืออกลุ่มผู้สื่อข่าวที่อยู่ตามภูมิภาคทั่วประเทศไทย ไม่มีกฎหมายอะไรรองรับคุ้มครอง สื่อภูมิภาคจะถูกคุกคาม การที่เรามีกองทุน มีเครือข่ายที่เข้มแข็ง สื่อภูมิภาคจะเข้มแข็ง นายประดิษฐ์ กล่าวย้ำ


สำหรับในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ยังได้เข้าร่วมงานดังกล่าวด้วย นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.สุนทรี ทับทิมไทย ชัยสัมฤทธิ์โชค ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองผู้บริโภค รองประธานคณะอนุกรรมการฯ ซึ่งชี้แจ้งว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีแนวทางสนับสนุนการทำงานของเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง คาดหวังการสร้างเครือข่ายครั้งนี้ จะนำไปสู่การผลิตสื่อเพื่อสังคมต่อไป
ภายในงาน มีบรรยายพิเศษ หัวข้อ “ 10 ปี กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงสู่เส้นทางอนาคต ” บรรยายโดย ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และหัวข้อ “ คิด เขียน ข้อเสนอโครงการฯ ขับเคลื่อนและพัฒนาเครือข่ายสื่อฯ ที่ยั่งยืน ” บรรยายโดย ดร. ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
สำหรับเวทีเสวนา “แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ร่วมกันสร้างนิเวศสื่อปลอดภัยสู่สังคม” ในพื้นที่ภาคกลาง ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่เป็นกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ หรือ Success Cases มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ประกอบไปด้วย วิทยากรทั้งหมด 4 ท่าน ได้แก่


ผศ. ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม รองคณบดีวิชาการ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายประกาศ เปล่งพานิชย์ คณะทำงาน/เลขานุการ คณะทำงานบริหารและหน่วยเลขานุการกิจสมัชชาสุขภาพ จังหวัดปทุมธานี คุณพวงเพชร สุพาวาณิชย์ ผู้รับทุนโครงการมะปรางหวานกับบ้านบินได้และโครงการมหัศจรรย์เมล็ดพันธุ์เหนือมิติ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ นายอภินันท์ บัวหภักดี ช่างภาพสารคดี นักคิดและนักเขียนที่สนใจเรื่องชาติพันธุ์เป็นพิเศษ
นอกจากนั้น ภาคการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ นำโดยวิทยากรกระบวนการ คุณฐาณิชชา ลิ้มพานิช กรรมการบริษัท ส่งเสริมพ่อแม่เพื่อสังคม จำกัด ภายใต้วัตถุประสงค์ “จะทำอย่างไรให้เกิดการขับเคลื่อนเครือข่ายสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ให้ทันสถานการณ์และยั่งยืนได้ในท้องถิ่น?” โดยมีบรรยายพิเศษและจับกลุ่มระดมความคิด ภายใต้หลักการ “Problem-based Design” ตั้งเป้าหมายจะแก้ปัญหาสังคมเรื่องใด หลักการและเหตุผลคืออะไร วัตถุประสงค์ เป้าหมายหรือความคาดหวัง กลุ่มเป้าหมายคือใคร แผนการดำเนินงาน (ขั้นตอน / สื่อและช่องทางการเผยแพร่ / ระยะเวลา/ สถานที่) งบประมาณ การติดตามและประเมินผลโครงการเป็นอย่างไร


สามารถติดตามรายละเอียดของงานเวทีสัมมนา 4 ภาค “ ขับเคลื่อนเครือข่ายสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สู่ชุมชน สร้างสังคมเข้มแข็ง ” ปีที่ 2 ได้ที่ เฟซบุ๊กเพจ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ แลthttps://www.thaimediafund.or.th/

อ่านแล้ว88 times!

แบ่งปันข่าวนี้ :

You May Also Like

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.