สุดยิ่งใหญ่พิธีแห่นมัสการหลวงปู่ปาน ประเพณีสำคัญของชาวสมุทรปราการ

แบ่งปันข่าวนี้ :

สุดยิ่งใหญ่พิธีแห่นมัสการหลวงปู่ปาน ประเพณีสำคัญของชาวสมุทรปราการ

ที่สมุทรปราการ ชาวบ้านนับหมื่นคน เข้าร่วมประเพณีสำคัญอย่างขบวนแห่หลวงปู่ปานทางเรือ จากคลองด่านไปยังปากอ่าวไทย เป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมายาวนานกว่าร้อยปี

เมื่อเวลา 07:09 น. วันที่ 28 ตุลาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่าปีนี้พิธีแห่ “หลวงปู่ปาน” วัดมงคลโคธาวาส (วัดบางเหี้ยนอก) ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ ประจำปี 2565 (ครบรอบ 112 ปี) ในปีนี้จัดขึ้นตรงกับวันศุกร์ที่ 28 ต.ค. โดยพิธีแห่ทางเรือ ทางวัดได้อัญเชิญองค์หลวงปู่ปานซึ่งมีขนาดเท่าองค์จริงลงเรือบุษบกขนาดใหญ่ลงเรือแห่ ออกทะเลไปปากอ่าว ล่องเรือแห่ไปตามลำคลองคลองด่านไปปากอ่าวทะเลอ่าวไทย โดยมีเรือประมงของชาวบ้านจำนวนมากเข้าร่วมขบวนแห่คึกคัก ฝ่าคลื่นสูงวนถึง 3 รอบ พร้อมแจกธงหลวงปู่ปาน แก่เรือประมงและผู้ร่วมงานกันกลางทะเลลึก ซึ่งขบวนเรือแห่หลวงปู่ปาน ทางทะเลเริ่มขึ้น ตั้งแต่เวลา 07.09 น. จากนั้นจะเป็นพิธีแห่ทางรถ เวลา 09.09 น. เพื่อให้ประชาชนได้สักการะพร้อมร่วมสัมผัสความสวยงามของขบวนแห่หลวงปู่ปาน โดยมีพลังศรัทธาของลูกศิษย์ลูกหา รวมไปถึงชาวคลองด่านและตำบลใกล้เคียง ที่มีต่อองค์หลวงปู่ปาน มาเข้าร่วมพิธีกันจำนวนมากเป็นประจำทุกๆ ปี สำหรับประเพณีการแห่องค์หลวงปู่ปานไปปากอ่าวไทยนั้น จัดขึ้นตรงกันวันขึ้น 4 ค่ำเดือน 12 ของทุกปี เป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมา 112 ปีแล้ว เนื่องจากชาวบ้านในจ.สมุทรปราการส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำประมงโดยเฉพาะในพื้นที่ ต.คลองด่าน ซึ่งในสมัยก่อนล้วนแต่ประกอบอาชีพการประมงเกือบทั้งสิ้นก่อนที่ชาวบ้านจะออกเรือหาปลาก็จะเดินทางมากราบไหว้หลวงปู่ปาน เพื่อขอพรให้หาจับปลาได้มาก ๆ ส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จออกเรือหาปลาได้ครั้งละมาก ๆ ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่มีความอยู่ดีกินดีกันเกือบทุกครัวเรือน กลายเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาจนถึงในปัจจุบัน หลังเสร็จสิ้นขบวนแห่ ทางวัดจะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ร่วมงานนมัสการปิดทองหลวงปู่ปาน ช่วงวันขึ้น 5-7 ค่ำเดือน 12 ตั้งแต่ 28 ต.ค.-3 พ.ย. 65 ทั้งนี้ วัดมงคลโคธาวาส ชื่อเดิมว่า วัดบางเหี้ยนอก เป็นวัดเก่าแก่โบราณ ที่สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2300 ส่วนหลวงปู่ปาน หรือพระครูพิพัฒนิโรธกิจ เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดบางเหี้ยนอก ถือเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือของขลัง พุทธคุณเมตตามหานิยม โดยเฉพาะฝีมือการแกะ “เขี้ยวเสือ” ซึ่งปัจจุบันก็ยังได้รับความนิยม ท่านมรณภาพวันที่ 29 ส.ค. 2453 แรม 9 ค่ำ เดือน 9 ปีจอ รวมสิริอายุ 85 ปี ซึ่งงานในปีนี้ จึงครบรอบ 112 ปีที่ท่านมรณภาพ

อ่านแล้ว356 times!

แบ่งปันข่าวนี้ :

You May Also Like

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.