นายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 พร้อมผู้บริหารสถาบันหารือแนวทางความร่วมมือจัดการเรียนการสอนรูปแบบทวิภาคีสร้าง “นวัตกรรมแม่ครัวสู่สากล

แบ่งปันข่าวนี้ :

นายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 พร้อมผู้บริหารสถาบันหารือแนวทางความร่วมมือจัดการเรียนการสอนรูปแบบทวิภาคีสร้าง “นวัตกรรมแม่ครัวสู่สากล” กับ บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2565 เวลา 13.00 น. นายอรรถการ ตฤษณารังสี นายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 นำทีมผู้บริหาร ประกอบด้วย นายสมศักดิ์ บุญโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5, ดร.ศรายุทธ ทองอุทัย และนายจาตุรันดร์ วัฒนประทีป รองผู้อำนวยการสถาบัน นายวรากร ชยุติกุล ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี รองผู้อำนวยการวิทยาลัยและครูสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ และสาขาวิชาการตลาด เข้าหารือแนวทางความร่วมมือจัดการเรียนการสอน การพัฒนาครู และนักเรียน โดยมีคณะผู้บริหารบริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วยคุณประเวศวุฒิ ไรวา รองประธานกรรมการและกรรมการบริหาร, คุณเกษสุดา ไรวา กรรมการและประธานกรรมการบริหาร, คุณวิทูร ศิลาอ่อน กรรมการ/กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร, คุณปัทมวลัย รัตนพล กรรมการบริหารและหัวหน้าคณะที่ปรึกษาบริหาร, คุณ สุภาวดี หุตะสิงห รองประธานสายบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล และสำนักกรรมการ, และคุณยุพิน กาญจนวิกัย ที่ปรึกษาสายกลยุทธ์และบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ กล่าวต้อนรับ ณ อาคารอิตัลไทย ทาว์นเวอร์ ชั้น 23
นายกสภาสถาบันฯ ได้กล่าวถึงความพร้อมและศักยภาพของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 ในการร่วมมือกับบริษัท เอส แอนด์ พีฯ เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนคุณภาพสูงด้านอาหารและบรรจุภัณฑ์ ด้วยกระบวนการจัดการเรียนการสอน การปรับปรุง/พัฒนาหลักสูตร ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ การพัฒนาครู นักเรียนร่วมกัน เป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างนวัตกรรม นำไปสู่การสร้างโอกาส สร้างรายได้ สร้างกำลังคนที่มีคุณภาพและยั่งยืน ซึ่งสถาบันฯ ได้กำหนดวิทยาลัยเป้าหมายได้แก่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี และวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นวิทยาลัยที่มีศักยภาพด้านการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านอาหาร

ในการประชุมดังกล่าว คุณเกษสุดา ไรวา ได้นำเสนอรูปแบบความร่วมมือกับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และยินดีให้การสนับสนุนส่งเสริมแนวทางการพัฒนาครูและนักเรียนร่วมกัน อีกทั้งยังสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ด้านห้องปฏิบัติการทางด้านอาหารขั้นสูงแก่ ครู นักเรียน และผู้สนใจ เปิดโอกาสให้มีการพัฒนาหลักสูตรใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการอาหารปลอดภัย และอาหารเพื่อสุขภาพให้อนาคต ซึ่งคุณยุพิน กาญจนวิกัย อนุกรรมการขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ได้เสริมเรื่องการเชื่อมโยงการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ การพัฒนาคนให้มีขีดความสามารถสูงและได้รับคุณวุฒิทางการศึกษา และคุณปัทมวลัย รัตนพล ซึ่งเป็นประธานอนุกรรมการด้านความร่วมมือของสอศ. กล่าวว่าความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนจะสำเร็จได้ การจัดการศึกษาต้องเป็นระบบทวิภาคี ที่ต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง และต้องดำเนินการอย่างจริงจัง อันจะนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนากำลังคน โดยครูต้องปรับ Mindset จากผู้สอนมาเป็นผู้คิดวางแผนและดำเนินธุรกิจด้วย และยังให้แนวทางในการพัฒนาบุคลากรตามที่เทรนด์โลกต้องการว่าต้องเป็น “แม่ครัวระดับสากล” ซึ่งต้องมีพื้นฐานด้านการทำอาหาร ด้านโภชนาการ และต้องรู้ภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสารเป็นอย่างดี


จากการหารือกันจึงเกิดข้อสรุปแนวทางความร่วมมือในการพัฒนาคนทั้งในระบบ นอกระบบ ระยะสั้น ในรูปแบบทวิภาคี ร่วมกันสร้าง “นวัตกรรมแม่ครัวสู่สากล” โดยระยะเริ่มต้นจะจัดทำบันทึกลงนามความร่วมมือ และตั้งคณะทำงานพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน ส่วนระยะกลางจะดำเนินการพัฒนาคนในรูปแบบ Upskill และระยะสั้นเพื่อสร้างคนเข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างรวดเร็ว และระยะยาวได้แก่ การจัดการเรียนการสอนระดับปวช. ปวส. และปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฎิบัติการ เพื่อเป็นการสร้างความยั่งยืนในการพัฒนากำลังคนด้านอาหารต่อไปในอนาคต

อ่านแล้ว250 times!

แบ่งปันข่าวนี้ :

You May Also Like

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.